หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว

ปริญญาตรี สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Multimedia Technology and Animation

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว)
ชื่อย่อ : วท.บ. (เทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Multimedia Technology and Animation)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Multimedia Technology and Animation)

ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพในระดับสากล มีความรอบรู้ด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และ การสร้างภาพเคลื่อนไหวอย่างเพียงพอ เกี่ยวข้องกับสร้างสื่อสมัยใหม่ การออกแบบ สร้างสรรค์สื่อออนไลน์ วิดีโอ ภาพยนตร์ และภาพเคลื่อนไหวทั้งสองมิติ และสามมิติ 

หลักสูตรนี้นำทฤษฎีการสร้างความรู้ของผู้เรียน คือ  Cognitive Theory เพื่อสร้างกระบวนการทางปัญญาหรือความคิดอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมการพัฒนากระบวนคิดเชิงออกแบบ คือ Design Thinking เพื่อให้บัณฑิตเข้าใจความต้องการและปัญหาของการออกแบบตามกระบวนการวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น (Digital Disruption) โดยมุ่งเน้นการลงมือทำ (Practicalism Theory) ให้มีทักษะสร้างสรรค์โดยประยุกต์ต่อยอดความรู้ด้วยตนเอง และสามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องในการสร้างสื่อตอบสนองต่อภาวะพลิกผันได้

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. มีจิตสำนึกเชิงจริยธรรม จรรยาบรรณของวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสังคม
  2. มีความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว
  3. มีความสามารถด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และการสร้างภาพเคลื่อนไหว ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในการออกแบบสื่อออนไลน์ และสร้างสรรค์สื่อดิจิตอลเสมือนจริงประเภทต่างๆ 
  4. สามารถนำความรู้หรือเทคนิคการใช้เครื่องมือต่างๆ ประยุกต์ใช้กับศาสตร์อื่นเพื่อให้ทันสมัยกับภาคอุตสาหกรรม

หลักสูตรฯ ใหม่นี้ มีจุดเด่นเริ่มจากการเพิ่มกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนากระบวนคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อให้บัณฑิตเข้าใจความต้องการผู้บริโภคและตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม และนำเอาทฤษฎีการสร้างความรู้ของผู้เรียน  (Cognitive Theory) เพื่อสร้างกระบวนการทางปัญญาหรือความคิดอย่างเป็นระบบ อีกทั้งมุ่งเน้นการลงมือทำ (Practicalism Theory) ให้มีทักษะสร้างสรรค์โดยประยุกต์ต่อยอดความรู้ด้วยตนเอง และสามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องในการสร้างสื่อตอบสนองต่อภาวะพลิกผันได้ มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิต 2 กลุ่มใหญ่ คือ นักสร้างสรรค์เนื้อหาออนไลน์ (Online Content Creator) และ นักสร้างภาพเสมือนจริง (Virtual Reality, Augmented Reality, Mixed Reality) จากรูปแบบการภาพเคลื่อนไหว 3 มิต เป็นต้น

  1. นักออกแบบกราฟิกส์ (Graphic Designer)
  2. นักสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animator, Modeler, 2D/3D Artist)
  3. นักสร้างภาพเหนือจริง (Visual Effects)
  4. นักออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์ (Web Designer/ Developer/ Programmer)
  5. นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
  6. นักออกแบบเกม (Game Designer)
  7. ทำงานด้านทีวี โฆษณา หรือภาพยนตร์ (TV Commercial/Advertising/Film production) 

  • PLO1 PLO1 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีความซื่อสัตย์ สุจริต เคารพกฎเกณฑ์ขององค์กร
  • PLO2 สามารถอธิบายหลักการ ความรู้ ทฤษฎีที่สำคัญ และสามารถการเลือกใช้เครื่องมือด้านมัลติมีเดีย
  • PLO3 มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อในการออกแบบและสร้างสื่อมัลติมีเดียอย่างสร้างสรรค์
  • PLO4 มีทักษะความเป็นผู้นำ ผู้ตาม และรับผิดชอบในการทำงานเป็นทีม ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมได้
  • PLO5 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่ในการออกแบบและสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อการสื่อสาร
  • PLO6 มีความสามารถในการบูรณาการความรู้และทักษะการออกแบบและสร้างสื่อมัลติมีเดีย

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 256,000.- บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 32,000.- บาท

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)  
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
     
2. หมวดวิชาเฉพาะ 90 หน่วยกิต
  2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 33 หน่วยกิต
  2.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ 39 หน่วยกิต
  2.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก 18 หน่วยกิต
     
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต