หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

ปริญญาโท สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Anti-Aging and Regenerative Medicine

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ)
ชื่อย่อ : วท.ม. (เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Science (Anti-Aging and Regenerative Medicine)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Anti-Aging and Regenerative Medicine)

ปรัชญาของหลักสูตร
เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพเป็นสาขาเฉพาะของวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ซึ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ให้บุคคลและสังคมมีช่วงอายุที่มีสุขภาพดีและอายุขัยยืนยาว(extended healthspan and lifespan) โดยการแก้ไข(repair) ชะลอ(retard) ฟื้นฟู(regrow) ทดแทน(replace) และป้องกัน(prevent)พยาธิสภาพและการทำงานที่ผิดปกติของร่างกายอันเนื่องจากความชรา(age-related pathology and dysfunction) ป้องกันและรักษาโรคอันเนื่องจากความชรา(age-related disease)และภาวะแทรกซ้อน(related complication)ตามแนวทางผสมผสานระหว่างวิทยาการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน(Conventional medicine)ร่วมกับศาสตร์การแพทย์แขนงอื่น

หลักสูตรมุ่งเน้นพัฒนาแพทย์ให้มี ความรู้ทางคลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์  เพื่อใช้ในการประกอบเวชปฏิบัติอย่างบูรณาการ และเผยแพร่ความรู้อย่างเชี่ยวชาญ พร้อมกับให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานวิจัย เพื่อสร้างศักยภาพในการทำงานวิจัยทางด้านคลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Clinical Anti-Aging and Regenerative Medicine Research) ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Science) หรือวิจัยเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Anti-Aging and Regenerative Medical Science Research) ส่งผลและก่อให้เกิดการพัฒนาวิทยาการทางด้านการแพทย์ ที่ยั่งยืนของประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ 

  1. เป็นผู้มีวินัย ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพแพทย์ 
  2. เป็นผู้มีความรู้ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางพื้นฐานวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อวงการแพทย์
  3. เป็นผู้มีทักษะในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคอันเนื่องความชรา
  4. เป็นผู้ มีความรับผิดชอบ เคารพสิทธิ ให้เกียรติผู้อื่นในการทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพที่ข้ามพหุวัฒนธรรม มีภาวะผู้นำ
  5. สามารถสืบค้น ศึกษาต่อเนื่อง ต่อยอด ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก 
  6. เป็นผู้ มีทักษะการวิเคราะห์ทางชีวสถิติ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยใน การสืบค้นข้อมูลด้านวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ 
  7. เป็นผู้ มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (โดยฝึกปฎิบัติจริงในศาสตร์เวชศาสตร์ชะลอวัยที่โรงพยาบาล และศึกษาดูงานเพิ่มเติมในต่างประเทศ) เข้าใจกระบวนการของธุรกิจ เพื่อการประยุกต์ในการงานอาชีพต่อไป

  1. แพทย์และนักวิจัยทางเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
  2. อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
  3. ประกอบวิชาชีพอิสระ

  • PLO1 มีวินัย ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพแพทย์
  • PLO2 สามารถอธิบายหลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางพื้นฐานวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ และ ทำงานวิจัย
  • PLO3 มีทักษะในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคอันเนื่องความชรา
  • PLO4 มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบ เคารพสิทธิ ให้เกียรติผู้อื่นในการทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพที่ข้ามพหุวัฒนธรรม และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
  • PLO5 มีทักษะการวิเคราะห์ทางชีวสถิติ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยในการสืบค้นข้อมูลด้านวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
  • PLO6 สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพแพทย์ (แพทยสภา) 
     

จำนวน  4  ภาคการศึกษาในหลักสูตร

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   360,000   บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา  90,000  บาท

แผน ก แบบ ก1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
    2. รายวิชาที่เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต  
       
แผน ก แบบ ก2  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
    3. หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
แผน ข  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร     36  หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาบังคับ 27 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
    3. หมวดค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ พ.ศ. 2565

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 3 พ.ย. 66