หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์บูรณาการ

ปริญญาโท สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์บูรณาการ
ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Health Promotion through Integrative Medicine

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์บูรณาการ)
ชื่อย่อ : วท.ม. (การส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์บูรณาการ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Science (Health Promotion through Integrative Medicine)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Health Promotion through Integrative Medicine)

ปรัชญาของหลักสูตรโลกกำลังเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางสุขภาพ โดยประชาชนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ เน้นการป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ ให้ความสำคัญกับการมีอายุยืนมากขึ้น ต้องการมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านบริการสุขภาพและความงาม ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมสุขสภาพ (Wellness) จึงมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)  การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ครบวงจรของไทย นอกจากนี้ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขสภาพเพื่อการสร้างชาติมุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนากิจกรรมด้านสุขสภาพ โดยการ บูรณาการหรือผสมผสานกิจกรรมสุขสภาพในมิติต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของกิจกรรมสุขสภาพได้มากขึ้น เช่น อาหารเพื่อสุขสภาพ สมุนไพร หัตถบำบัด และการออกกำลังกาย เป็นต้น อีกทั้งองค์ความรู้ศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิมขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ และการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรยังขาดการต่อยอดเชิงพาณิชย์ ดังนั้น การแพทย์บูรณาการซึ่งเป็นสหวิทยาการที่บูรณาการศาสตร์ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพและศาสตร์การแพทย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่นำไปสู่การดูแลสุขภาวะแบบองค์รวมแก่ประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างร่มเย็นผาสุกในสังคม ดังนั้น หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์บูรณาการ จึงเชื่อว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถในการบูรณาการศาสตร์ทางการแพทย์ไปสู่การออกแบบโปรแกรมสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์การดูแลสุขภาพเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี พัฒนางานวิจัยที่บูรณาการศาสตร์ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีความสามารถในการสร้างสุขภาพเพื่อสุขภาวะองค์รวมแบบบูรณาการ ที่ความสามารถในการออกแบบโปรแกรมหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีทักษะพื้นฐานในการให้บริการ การให้คำปรึกษา การบริการจัดการและการสื่อสารในสถานประกอบการธุรกิจสุขภาพ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกับสหวิชาชีพอย่างเป็นระบบในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง  เพื่อผลลัพธ์ที่ดีและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในการส่งเสริม และป้องกันสุขภาพเพื่อสุขภาวะที่ดี

การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรนี้ ได้ดำเนินการอยู่บนพื้นฐานของ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเองโดยการนำความรู้ความเข้าใจเดิมเชื่อมโยงกับประสบการณ์และความรู้ใหม่ และการเรียนการสอนโดยอ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based Learning) โดยการสร้างหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการด้านธุรกิจสุขภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสถานประกอบการด้านธุรกิจสุขภาพ ผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยการแก้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) และการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ (Work-based Learning)

ดังนั้น หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์บูรณาการ มุ่งเน้นในการผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถออกแบบโปรแกรมการดูแลสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนสามารถต่อยอดองค์ความรู้ด้วยตนเองในการพัฒนางานวิจัยที่บูรณาการศาสตร์ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างอิงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และสามารถในการเป็นนักส่งเสริมสุขภาพองค์รวมแบบบูรณาการที่มีความสามารถในการออกแบบโปรแกรมหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ พัฒนานวัตกรรม มีทักษะพื้นฐานในการให้บริการ การให้คำปรึกษา การบริการจัดการในสถานประกอบการธุรกิจสุขภาพ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกับสหวิชาชีพอย่างเป็นระบบในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป
 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์บูรณาการ มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถสร้างสุขภาพเพื่อสุขภาวะองค์รวมแบบบูรณาการที่มีความรู้และความสามารถในการออกแบบโปรแกรมการดูแลสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีทักษะพื้นฐานในการให้บริการ การให้คำปรึกษา โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการออกแบบโปรแกรมหรือผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนของผู้ใช้บริการ และให้การดูแลสุขภาพองค์รวมแบบบูรณาการร่วมกับสหวิชาชีพอย่างมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ ตลอดจนพัฒนางานวิจัยหรือนวัตกรรมผ่านการบูรณาการศาสตร์ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยอ้างอิงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ตลอดจนคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย

  1. นักส่งเสริมสร้างสุขภาพแบบบูรณาการ 
  2. นักออกแบบการบริการและนวัตกรรมสุขภาพ (service and innovative designer)
  3. ที่ปรึกษาด้านสุขภาพองค์รวมแบบบูรณาการ (Health advisor)
  4. ผู้จัดการหรือผู้ประกอบการด้านธุรกิจสุขภาพ
  5. นักวิจัยและนักวิชาการทางด้านการแพทย์บูรณาการในหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรอิสระ
  6. อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายงานด้านการแพทย์บูรณาการ

  • PLO 1 อธิบายเชื่อมโยงสาระที่สำคัญของความรู้การบูรณาการศาสตร์ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
  • PLO 2 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการออกแบบโปรแกรมการดูแลสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • PLO 3 พัฒนางานวิจัยหรือนวัตกรรมที่บูรณาการศาสตร์ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพหรือศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  • PLO 4 สามารถสื่อสารเชิงวิชาการ วิชาชีพ และทำงานร่วมกับสหวิชาชีพอย่างเป็นระบบในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
  • PLO 5 แสดงออกถึงจริยธรรมการประกอบวิชาชีพและจริยธรรมการวิจัย 
  • PLO 6 แสดงความสามารถในการสร้างสุขภาพเพื่อสุขภาวะองค์รวม ชี้แนะทางสุขภาพองค์รวมแบบบูรณาการ และการให้บริการด้านสุขภาพ

 

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   150,000   บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา  50,000  บาท

แผน 1  แบบวิชาการ  แผน 1.1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต  
    1. หมวดวิชาที่เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต ไม่นับหน่วยกิต
    2. หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
       
แผน 1 แบบวิชาการ แผน 1.2  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต  
    1. หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
    3. หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

อ้างอิงจาก หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์บูรณาการ พ.ศ. 2566

 

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 19 มี.ค. 67