หลักสูตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ |
ภาษาอังกฤษ: | Doctor of Philosophy Program in English for Professional Development |
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ) |
ชื่อย่อ : | ปร.ด. (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ) |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Doctor of Philosophy (English for Professional Development) |
ชื่อย่อ : | Ph.D. (English for Professional Development) |
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานแนวคิดคอนสครัคติวิสต์เชิงสังคม (Social Constructivism) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้หรือการสร้างความรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียนจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้เรียนด้วยกันและผู้สอน ตลอดจนการนำประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า บนพื้นฐานของความเข้าใจบริบทสังคมและวัฒนธรรมของการใช้ภาษาอังกฤษในวิชาชีพ ทั้งบริบทท้องถิ่นและบริบทโลกอย่างลึกซึ้ง หลักสูตรฉบับนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงเวลาของการพลิกผันทางสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ซึ่งทำให้รูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิม ไปเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อต่างๆ ทำให้ต้องมีการวิจัยเพื่อสร้างรูปแบบ หลักการ และวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการและบริบทของผู้ใช้ภาษาอังกฤษในวิชาชีพต่างๆ นอกจากนี้ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ภาษาอังกฤษมีบทบาทในวิชาชีพต่างๆ มากขึ้น การใช้ภาษาอังกฤษในวิชาชีพมิได้จำกัดแต่เพียงการสื่อสารทั่วไปในองค์กรนานาชาติเท่านั้น หากยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในวิชาชีพผ่านสื่อภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางในการสื่อสาร บุคลากรในวิชาชีพที่มีสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษสูง จึงมีโอกาสในการแข่งขันสูงเนื่องจากสามารถเผยแพร่ความรู้และนำองค์กรสู่นานาชาติได้ ความต้องการในการยกระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและเพื่อปฏิบัติงานในวิชาชีพต่างๆ จึงมีสูงขึ้น
หลักสูตรนี้ จึงมุ่งสร้างผู้เรียนที่มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการบูรณาการศาสตร์ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ บนพื้นฐานของทฤษฎีและงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์และด้านภาษาอังกฤษ โดยบัณฑิตจะต้องมีภาวะผู้นำทางวิชาการในสาขาภาษาอังกฤษ มีความยืนหยุ่นทางความคิด สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตลอดจนสามารถบริหารจัดการและถ่ายทอดนวัตกรรมสู่สังคมได้เหมาะสมกับบริบท
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- มีคุณธรรมจริยธรรมของนักวิจัยในสาขาภาษาอังกฤษ
- มีความรู้ความเชี่ยวชาญในทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการรับภาษาที่สอง การออกแบบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ระเบียบวิธีวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
- สามารถสร้างงานวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรมุ่งเน้นการสร้างบุคลากรทางการศึกษาด้านภาษาอังกฤษที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม แนวคิด หลักการ และการบูรณาการศาสตร์ภาษาอังกฤษเข้ากับศาสตร์สาขาวิชาชีพอื่น ๆ ที่นำไปสู่การยกระดับสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษแก่บุคลากรในวิชาชีพการศึกษาและวิชาชีพอื่น ๆ ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน เน้นการผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านการเรียนรู้และรูปแบบการสื่อสารของประชาคมโลก นอกจากนี้ หลักสูตรยังให้ความสำคัญกับนโยบายและการจัดการหลักสูตรที่เน้นการสร้างรูปแบบการเรียนรู้และการสื่อสารในแบบที่หลากหลาย มีความยืดหยุ่นในเรื่องพื้นที่และช่วงเวลาของการเรียนรู้ ตอบสนองต่อความต้องการ บริบทและรูปแบบการพัฒนาตนเองของผู้เรียนและผู้ใช้ภาษาอังกฤษ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ผู้สอนภาษาอังกฤษในสถาบันการศึกษาทุกระดับ
- นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาศาสตร์ประยุกต์
- นักออกแบบกิจกรรม นักสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษในสถาบันการศึกษาต่างๆ
- ผู้บริหารหลักสูตร/โครงการการศึกษานานาชาติ
- ศึกษานิเทศก์สาขาภาษาอังกฤษ
- นักนโยบายและแผนด้านการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ (English Language Policy Makers)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร
- PLO 1 สามารถปฎิบัติตามหลักจริยธรรมการวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อออกแบบสร้างสรรค์งานวิจัยและงานวิชาการด้านภาษาอังกฤษ
- Sub PLO 1.1 วิเคราะห์และวิพากษ์สถานการณ์ สาเหตุและผลกระทบของปัญหาทางจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษและการออกแบบงานวิจัยในสาขาภาษาอังกฤษและเสนอแนะแนวปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา
- Sub PLO 1.2 สร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสังคม และไม่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น
- PLO 2 สามารถวิพากษ์และประเมินแนวคิด หลักการ ทฤษฏีทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์การออกแบบการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ระเบียบวิธีวิจัยด้าน มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- Sub PLO 2.1 สามารถวิพากษ์และประเมินแนวคิด ทฤษฎีและหลักการด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ การรับภาษาที่สอง แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ท้าทายต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาสมิทธิภาพและการใช้ภาษาอังกฤษในวิชาชีพต่าง ๆ
- Sub PLO 2.2 สามารถวิพากษ์และประเมินแนวคิด หลักการและแนวทางในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษ
- Sub PLO 2.3 สามารถและประเมินหลักการ ระเบียบวิธีวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
- Sub PLO 2.4 สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ หลักการออกแบบการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ระเบียบวิธีวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กับความต้องการใช้ภาษาอังกฤษในวิชาชีพต่าง ๆ
- PLO 3 สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาวิชาชีพและการพัฒนาสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษในวิชาชีพอื่นๆ
- Sub PLO 3.1 สร้างกรอบแนวคิดใหม่ในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ท้าทายต่าง ๆ โดยบูรณาการแนวคิด ทฤษฎีและหลักการด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ การรับภาษาที่สอง และแนวโน้มต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาสมิทธิภาพและการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและในวิชาชีพ
- Sub PLO 3.2 ออกแบบงานวิจัยตามระเบียบวิธิวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยบูรณาการทฤษฎีและหลักการด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ การรับภาษาที่สอง และทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
- PLO 4 เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษ
- Sub PLO 4.1 มีความสามารถในการนำเสนอแนวคิดใหม่เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาการเรียนรู้และสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษ
- Sub PLO 4.2 มีความสามารถในการวางแผนงาน และแก้ปัญหาในการดำเนินงานวิจัยอย่างเป็นระบบ
- PLO 5 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและวิจัยที่ซับซ้อน เลือกใช้สถิติได้เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล และใช้ภาษาอังกฤษในการถ่ายทอดแนวคิดและงานวิจัยในระดับสากล
- PLO 6 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการออกแบบนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ค่าธรรมเนียม
(แบบที่ 2.1) จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 450,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 75,000 บาท
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1 | |
| จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 48 หน่วยกิต |
| | 1. หมวดดุษฎีนิพนธ์ | 48 หน่วยกิต |
| | 2. หมวดวิชาบังคับ | ไม่นับหน่วยกิต |
| | | |
แบบ 2.1 | |
| จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 48 หน่วยกิต |
| | 1. หมวดดุษฎีนิพนธ์ | 48 หน่วยกิต |
| | 2. หมวดวิชาบังคับ | 12 หน่วยกิต |
| | | |
ข้อมูลอ้างอิง
อ้างอิงจาก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ พ.ศ. 2565
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 9 ส.ค. 65