มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) เปิดบ้านเป็นเจ้าภาพร่วม หออัครศิลปิน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ "ศิลปินแห่งชาติ สืบสานศิลป์" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินแห่งชาติ 3 สาขา และสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะให้แก่นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และผู้สนใจ ระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อาคารพลเอกสำเภา ชูศรี (E4) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
โดยมีพิธีเปิดกิจกรรมในวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประดู่แดง 1 อาคารพลเอกสำเภา ชูศรี (E4) มฟล. โดยได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวต้อนรับ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กล่าวถึงบทบาทกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมในการสนับสนุนศิลปินแห่งชาติ และ นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวเปิดโครงการฯ โดยในพิธีเปิดมีการแสดงพิเศษ สุนทรียนาฏกวี ชุด อาวุธนางวาลี โดยศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงและสาขาวรรณศิลป์ จากนั้นเป็นการแสดง สานสัมพันธ์ศิลป์ กวี คีตา โดยศิลปินแห่งชาติ 7 ท่าน จาก 3 สาขาคือ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ และศิลปะการแสดง
นอกจากนี้ภายในงานยังได้มีกิจกรรมฝึกอบรมโดยศิลปินแห่งชาติอย่างใกล้ชิด ระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2566 โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยจำนวน 9 ฐาน คือ
ฐานที่ 1 เทคนิคจิตรกรรมและสื่อผสม โดย นายธงชัย รักปทุม ศิลปินแห่งชาติ
ฐานที่ 2 เทคนิคสร้างสรรค์ภาพพิมพ์ โดย ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ
ฐานที่ 3 เทคนิคประติมากรรม โดย นายศราวุธ ดวงจ าปา ศิลปินแห่งชาติ
ฐานที่ 4 เทคนิคสถาปัตยกรรม โดย นางสาววนิดา พึ่งสุนทร
ฐานที่ 5 เทคนิคศิลปะผ่านเลนส์ โดย นายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร นางวรรณี ชัชวาลทิพากร
ฐานที่ 6 การสร้างสรรค์งานวรรณศิลป์ โดย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ คือ นายเจริญ มาลาโรจน์ (มาลา คำจันทร์) นางชมัยภร บางคมบาง (ชมัยภร แสงกระจ่าง) และ นายพิบูลศักดิ์ ลครพล
ฐานที่ 7 การสร้างงานศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย-ละคร) โดย นางรัจนา พวงประยงค์ และ ว่าที่ร้อยตรีภัทรกฤษณ์ พุ่มพิพัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ
ภายในงานยังมีการจัดแสดงผลงานของอัครศิลปิน วิศิษฏศิลปิน และผลงานศิลปะของศิลปินแห่งชาติ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชน และประชาชนในส่วนภูมิภาค ที่เข้าร่วมโครงการ ได้สัมผัสกับผลงานศิลปะอันทรงคุณค่าที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะต่อไป
โดย ศิลปินแห่งชาติ 3 สาขา ที่ร่วมโครงการ ได้แก่
1. ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ พ.ศ. 2540
2. นายธงชัย รักปทุม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ พ.ศ. 2553
3. นายศราวุธ ดวงจ าปา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ พ.ศ. 2560
4. นายเจริญ มาลาโรจน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2556
5. นางชมัยภร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2557
6. นายพิบูลย์ศักดิ์ ลครพล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2560
7. นายธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ. 2559