ผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเข้าร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินโครงการ AIMS ครั้งที่ 17 และเข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการต่างประเทศ ณ เมืองตาไกไต สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

หมวดหมู่ข่าว: ข่าวเด่น

เมื่อวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2566 ผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมฤดี นิลทอง อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศตร์และนางสาวววารุณี แก้วบุญเรือง เจ้าหน้าที่บริหาร ส่วนพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยน Asian International Mobility for Students (โครงการ AIMS) ครั้งที่ 17 และเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการต่างประเทศ หัวข้อ 'Agile and Innovative International Relations Officers for Internationalisation in a New Context' ณ โรงแรม Taal Vista ณ เมืองตาไกไต สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 
.
การประชุมติดตามผลการดำเนินโครงการ AIMS จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยแต่ละประเทศจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพการประชุม และในการประชุมฯ ครั้งที่ 17 นี้ ร่วมจัดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ Lyceum of the Philippines University (LPU), Batangas และศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนา (SEAMEO RIHED) มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนกว่า 150 คน ได้แก่ ผู้แทนภาครัฐ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณจารย์ เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ และศิษย์เก่าโครงการ AIMS จำนวนกว่า 150 ราย จาก 62 สถาบันการศึกษา กว่า 10 ประเทศ 
.
นอกจากนี้ ยังได้มีการลงนามร่วมกับเพื่อต้อนรับราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างเป็นทางการในฐานะสมาชิกลำดับที่ 10 ของโครงการ AIMS โดยมีมหาวิทยาลัยชั้นนำในจักรกัมพูชา จำนวน 5 แห่งที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ AIMS ได้แก่ 1. Royal University of Phnom Penh (RUPP), 2. Royal University of Agriculture (RUA), 3. Royal University of Law and Economics (RULE), 4. National University of Management (NUM) และ 5. Institute of Technology Cambodia (ITC)
.
ตลอดการประชุมได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการ AIMS การสร้างความเป็นสากล (Internationalization-IZN) และการสร้างความเป็นสากลในบ้าน (Internationalization @ Home-IaH) การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างกัน เพื่อพัฒนาโครงการ AIMS ให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงได้หารือแนวการดำเนินโครงการ AIMS ในอนาคต ทั้งนี้ยังได้มีการจัดเสวนาโดยศิษย์เก่าโครงการ AIMS โดยกลุ่มศิษย์เก่าได้เน้นย้ำว่าโครงการ AIMS เป็นโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาได้มีโอกาสได้รับประสบการณ์ในต่างประเทศ เป็นโครงการที่เปลี่ยนแนวคิดและชีวิต เป็นประตูสู่โลกกว้าง และเปิดโอกาสให้พัฒนาศักยภาพ นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาจากตัวแทนรัฐบาลของแต่ละประเทศ โดยผู้แทนแต่ละประเทศได้แสดงวิสัยทัศน์และชี้แจงนโยบายด้านความเป็นสากลของแต่ละประเทศอีกด้วย 
.
นอกจากนี้ ผู้แทนของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ยังได้เข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการต่างประเทศ (IRO Capacity Building Workshop under the theme of 'Agile and Innovative International Relations Officers for Internationalisation in a New Context) โดยการจัดอบรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและปลูกฝังกรอบความคิดและทักษะใหม่สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมความเป็นสากลและความคล่องตัวในบริบทใหม่ 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการต่างประเทศ ผ่านการเรียนรู้และแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดี รวมถึงการแสวงหาโอกาสในการทำงานร่วมกันในอนาคต 3. เร่งกระบวนการสร้างความเป็นสากลของระดับอุดมศึกษาในภูมิภาค SEAMEO และนางสาวววารุณี แก้วบุญเรือง เจ้าหน้าที่บริหาร ส่วนพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรเสวนาในหัวข้อ การสร้างเครือข่าย โดยได้ร่วมแบ่งปันความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมอบรมจากหลากหลายประเทศอีกด้วย อนึ่งหลักเสร็จสิ้นการอบรมผู้แทนของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ยังได้จัดกิจกรรมพบปะศิษย์เก่าผู้เคยเข้าร่วมโครงการ AIMS จำนวน 2 รุ่น จาก University of Santo Tomas ประเทศฟิลิปปินส์อีกด้วย
.
โครงการ AIMS ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 มีนักศึกษาแลกเปลี่ยนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 7,000 คน ใน 10 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไรดารุสซาลาม ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ และกัมพูชา โดยเป็นโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลี ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับคัดเลือกจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้เป็นหนึ่งในแปดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ให้ดำเนินโครงการนี้ ใน 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (Food Science and Technology) ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) การจัดการการท่องเที่ยว (Tourism Management) 

  • 85 ครั้ง