หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
ปริญญาตรี สำนักวิชาศิลปศาสตร์
ภาษาไทย: | หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับชาวต่างประเทศ |
ภาษาอังกฤษ: | Bachelor of Arts Program in Thai Language and Culture for Foreigners |
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับชาวต่างประเทศ) |
ชื่อย่อ : | ศศ.บ. (ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับชาวต่างประเทศ) | |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Bachelor of Arts (Thai Language and Culture for Foreigners) |
ชื่อย่อ : | B.A. (Thai Language and Culture for Foreigners) |
ปรัชญาของหลักสูตร
ภาษาไทยเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอกประเทศ หากชาวต่างประเทศต้องการเข้ามาใช้ชีวิตในประเทศไทย ประกอบการธุรกิจหรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรของรัฐบาลและเอกชนที่มีการติดต่อกันระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาควบคู่กับวัฒนธรรมไทย เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารและประกอบกิจการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักสูตรนี้จึงนำทฤษฎีการสร้างความรู้ของผู้เรียน คือ ทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism Theory) ที่มุ่งให้ผู้เรียนสร้างความเข้าใจและความรู้ใหม่ โดยบูรณาการกับความรู้หรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพในการสื่อสาร (Communicative Competence) ทั้งสมรรถภาพทางภาษา (Linguistic Competence) และสมรรถภาพทางภาษาศาสตร์และวัฒนธรรม (Socio-Linguistic and Socio-Cultural Competence) มาเป็นรากฐานสำคัญในการออกแบบ พัฒนาและจัดการศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับชาวต่างประเทศ ให้บัณฑิตชาวต่างประเทศมีความรู้และทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อให้สามารถใช้ภาษาไทยในกิจการที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจวัฒนธรรมไทยในบริบทต่าง ๆ ตลอดจนมีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการสื่อสาร มีทักษะการทำงานเป็นทีม มีทักษะเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น และมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตชาวต่างประเทศให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
- มีคุณธรรม จริยธรรม และมีเจตคติที่ดีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย
- มีความรู้ ความเข้าใจในภาษา สังคมและวัฒนธรรมไทย
- สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อผลิตผลงานที่เกี่ยวข้องกับภาษาและวัฒนธรรมไทยได้
- สามารถสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย
- สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างได้
- สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารภาษาไทยได้อย่างเหมาะสม
หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตชาวต่างประเทศที่สื่อสารภาษาไทยได้ถูกต้องตามบริบททางวัฒนธรรมไทยในระดับดีมาก พร้อมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านภาษา สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและหลักการสื่อสารเพื่อประกอบอาชีพได้ในหลากหลายสาขา บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะสามารถประกอบอาชีพได้ ดังนี้
- กลุ่มงานด้านการศึกษา เช่น ครู อาจารย์ และนักวิชาการด้านภาษาและวัฒนธรรมไทย
- กลุ่มงานด้านธุรกิจและการค้า เช่น ผู้ประกอบการธุรกิจระหว่างประเทศ พนักงานในบริษัทข้ามชาติ พนักงานวิเทศสัมพันธ์ นักประชาสัมพันธ์ เลขานุการ
- กลุ่มงานด้านการบริการและการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานโรงแรม พนักงานในธุรกิจการจัดการประชุมและนิทรรศการ
- กลุ่มงานภาษาและสื่อมวลชน เช่น พนักงานในธุรกิจสื่อ นักพิสูจน์อักษร ผู้ตรวจและแก้ไขต้นฉบับ นักแปล ล่าม รวมถึงผู้สร้างสรรค์เนื้อหาในสื่อออนไลน์ (ยูทูบเบอร์ บล็อกเกอร์ วล็อกเกอร์)
- กลุ่มงานระหว่างประเทศ เช่น เจ้าหน้าที่ในองค์กรของรัฐ เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่ในองค์กรเอกชน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เจ้าหน้าที่มูลนิธิ ผู้เผยแผ่ศาสนา
- PLO 1 มีวินัย ซื่อสัตย์ และมีเจตคติที่ดีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย
- PLO 2 อธิบายหลักการ แนวคิดและทฤษฎีทางภาษาไทย สังคมและวัฒนธรรมไทยได้
- PLO 3 ร่วมสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการโดยใช้ความรู้ทางภาษาและวัฒนธรรมไทย
- PLO 4 สื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย
- PLO 5 ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรมได้
- PLO 6 ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารภาษาไทยได้อย่างเหมาะสม
สามารถศึกษาต่อทางด้านที่เกี่ยวข้องกับภาษาศาสตร์ เป็นต้น
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 280,000.- บาท : (สำหรับนักศึกษาต่างชาติเท่านั้น)
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000.- บาท : (สำหรับนักศึกษาต่างชาติเท่านั้น)
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี) | |||
1. หมวดวิชาปรับพื้นฐานความรู้ภาษาไทย | 15 หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต | ||
3. หมวดวิชาเฉพาะ | 84 หน่วยกิต | ||
- กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 24 หน่วยกิต | ||
- กลุ่มวิชาชีพบังคับ | 45 หน่วยกิต | ||
- กลุ่มวิชาชีพเลือก | 15 หน่วยกิต | ||
4. หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต |
อ้างอิงจาก หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับชาวต่างประเทศ พ.ศ. 2565
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 9 มิ.ย. 65