หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา
ปริญญาตรี สำนักวิชาจีนวิทยา
ภาษาไทย: | หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา |
ภาษาอังกฤษ: | Bachelor of Arts Program in Chinese Studies |
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | ศิลปศาสตรบัณฑิต (จีนศึกษา) |
ชื่อย่อ : | ศศ.บ. (จีนศึกษา) | |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Bachelor of Arts (Chinese Studies) |
ชื่อย่อ : | B.A. (Chinese Studies) |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา มุ่งสร้างบุคคลากรด้านจีนศึกษา ที่มีทักษะภาษาจีนที่ดี และมีความรู้ความเข้าใจประเทศจีนอย่างลึกซึ้งในทุก ๆด้าน เช่น ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น สามารถบูรณาการสหความรู้ เพื่อประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์และสามารถ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของประเทศจีนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันทั้งระดับบุคคลและระดับประเทศ
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
- มีทักษะความรู้ด้านภาษาจีน และมีความเข้าใจในแนวคิดวิถีจีนเป็นอย่างดี
- สามารถบูรณาการและประยุกต์ความรู้ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับจีน เช่น ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ ได้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของจีนในบริบทปัจจุบันและอนาคต
- สามารถติดต่อประสานงานหน่วยงานด้านต่างประเทศ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีน
คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร
- สามารถใช้และสื่อสารด้วยภาษาจีนทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน และแปลในระดับมาตรฐานสากล
- สามารถเชื่อมโยงบูรณาการแนวคิดของจีนสมัยใหม่ ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและจีน
- มีทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านจีนศึกษาอย่างเป็นระบบและประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง
- มีการพัฒนาประสบการณ์ด้านการวิจัย และการทำงานภาคปฏิบัติที่ส่งเสริมการใช้ความรู้ด้านจีนศึกษา
- สามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมและการทำงานเป็นหมู่คณะได้ รับฟังความเห็นของผู้อื่น มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
- บุคลากรการต่างประเทศทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
- นักวิชาการ และนักวิจัยด้านจีนศึกษา
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ล่าม นักแปล นักเขียน มัคคุเทศก์
- PLO1: สามารถใช้และสื่อสารด้วยภาษาจีนทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน และแปลในระดับมาตรฐานสากล
- PLO2: สามารถเชื่อมโยงบูรณาการแนวคิดของจีนสมัยใหม่ ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและจีน
- PLO3: มีทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านจีนศึกษาอย่างเป็นระบบและประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง
- PLO4: มีการพัฒนาประสบการณ์ด้านการวิจัย และการทำงานภาคปฏิบัติที่ส่งเสริมการใช้ความรู้ด้านจีนศึกษา
- PLO5: สามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมและการทำงานเป็นหมู่คณะได้ รับฟังความเห็นของผู้อื่น มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 304,000.- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 38,000.- บาท
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 130 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี) | |||
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 94 หน่วยกิต | ||
- กลุ่มวิชาชีพบังคับ | 85 หน่วยกิต | ||
- กลุ่มวิชาชีพเลือก | 9 หน่วยกิต | ||
3. หมวดเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต | ||
อ้างอิงจาก หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา พ.ศ. 2562
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 2 ก.ค. 64