หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ปริญญาตรี สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร |
ภาษาอังกฤษ: | Bachelor of Science Program in Food Science and Technology |
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) |
ชื่อย่อ : | วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) | |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Bachelor of Science (Food Science and Technology) |
ชื่อย่อ : | B.Sc. (Food Science and Technology) |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและพร้อมเข้าสู่การทำงานในโลกศตวรรษที่ 21 โดยพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น การคิดเป็นทำเป็นและกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยนำมาบูรณาการกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป การประกันคุณภาพ การพัฒนานวัตกรรมอาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ การบริหารจัดการและการตลาด และมีศักยภาพที่จะสามารถเป็นผู้ประกอบการได้ โดยยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้
- มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เพื่อรองรับความต้องการของตลาดสากลและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง
- มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ทางด้านทฤษฎี ปฏิบัติการ และประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง
- มีทักษะความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น คิดเป็นทำเป็นและ พร้อมเข้าสู่การทำงานในโลกศตวรรษที่ 21
- สามารถพัฒนาตนเองและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาแห่งวิชาชีพ
สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้แก่
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และฝ่ายจัดซื้อในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
- นักวิชาการ
- ผู้แทนขายและให้บริการด้านเทคนิคสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร
- นักโภชนาการ
- นักวิจัยในสถาบันการศึกษาหรือสถาบันค้นคว้าและวิจัย ทั้งภาครัฐและเอกชน
- ผู้ประเมินโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
- ผู้ประกอบการอิสระด้านธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร
สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกในหลายสาขาวิชา เช่น กลุ่มวิทยาศาสตร์ เช่น สาขาเทคโนโลยีการอาหาร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิศวกรรมอาหาร วิศวกรรมอุตสาหการ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว นาโนเทคโนโลยี เป็นต้น กลุ่มบริหาร เช่น สาขาบริหารการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถศึกษาได้ทั้งในสถาบันการศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 200,000 .- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 25,000 .- บาท
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 125 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี) | |||
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต | ||
1) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 หน่วยกิต | ||
2) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 หน่วยกิต | ||
3) กลุ่มวิชาภาษา | 15 หน่วยกิต | ||
4) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ | 3 หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 89 หน่วยกิต | ||
แผนการศึกษาที่ 1 (นักศึกษาที่เรียนรายวิชาสหกิจศึกษา) | |||
1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 31 หน่วยกิต | ||
2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ | 52 หน่วยกิต | ||
3) กลุ่มวิชาชีพเลือก | 6 หน่วยกิต | ||
แผนการศึกษาที่ 2 (นักศึกษาที่เรียนรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ) | |||
1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 31 หน่วยกิต | ||
2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ | 49 หน่วยกิต | ||
3) กลุ่มวิชาชีพเลือก | 9 หน่วยกิต | ||
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต | ||
อ้างอิงจาก หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร พ.ศ. 2560
- แผนการศึกษาที่ 1 (นักศึกษาที่เรียนรายวิชาสหกิจศึกษา)
- แผนการศึกษาที่ 2 (นักศึกษาที่เรียนรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ)
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 11 ต.ค. 61