หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณและข้อมูล

ปริญญาเอก สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณและข้อมูล
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Computational and Data Science

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการเชิงคำนวณและข้อมูล)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (วิทยาการเชิงคำนวณและข้อมูล)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Computational and Data Science)
ชื่อย่อ : Ph.D. (Computational and Data Science)

ปรัชญาของหลักสูตร
วิทยาศาสตร์เชิงคำนวณและข้อมูลเป็นสหวิทยาการที่ใช้องค์ความรู้ทางด้านการคำนวณ อาทิ คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลของศาสตร์ด้านต่าง ๆ  ที่จะนำไปสู่การพยากรณ์ สร้างรูปแบบและแบบแผนที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในด้านที่ต้องการประยุกต์ใช้ เช่น การเกษตร ธุรกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

หลักสูตรวิทยาการเชิงคำนวณและข้อมูลมุ่งเน้นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้และทักษะการวิจัยขั้นสูงให้มีการพัฒนาทางด้านกระบวนการคิด (cognitive) และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) จากศาสตร์ต่าง ๆ มาสร้างเป็นแบบจำลองหรือรูปแบบ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และความเข้าใจใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การค้นหาแนวทางการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การสร้างนวัตกรรม และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลสูงสุด

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อมุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ มีความสามารถในเชิงวิจัยด้านวิทยาการเชิงคำนวณและข้อมูล ยึดมั่นในจรรยาบรรณ มีทักษะศตวรรตที่ 21 มีทัศนะคติเชิงบวก มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม และทำงานในสังคมที่หลากหลาย มีความสามารถในการพัฒนาแบบจำลองที่มีแนวคิดใหม่โดยบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การค้นหาแนวทางการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การสร้างนวัตกรรม และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลสูงสุด

หลักสูตรได้พัฒนาปรับปรุงตามแนวทางแบบการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยยึดโยงกับความต้องการของผู้ใช้หลักสูตร ในหลักสูตรนี้จึงเน้นให้นักศึกษามีทักษะการคิดวิเคราะห์และสามารถนำเสนอในรูปแบบดิจิทัลโดยใช้ภาพในการสื่อสารให้เข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพ และนักศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยจากแหล่งสถาบันฝึกอบรมและบริษัทระดับโลกเพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้การทำงานจริง

  1. นักวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูล แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการคำนวณ
  2. นวัตกรที่ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาการข้อมูล แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการคำนวณ
  3. พนักงานวิทยาศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์ ของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานเอกชน ที่ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูล แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการคำนวณ
  4. ครู/อาจารย์ ในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

  • PLO1: มีความซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมวิจัยพื้นฐานและจริยธรรมทางด้านสารสนเทศ
  • PLO2: อภิปรายการเชื่อมโยงหลักการ ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับข้อมูลขนาดใหญ่ของศาสตร์ต่าง ๆ และสามารถบ่งบอกลักษณะแบบจำลองและเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ต่าง ๆ
  • PLO3: สร้างแบบจำลองที่มีแนวคิดหรือวิธีการใหม่ จากความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ของปัญหาที่สนใจ
  • PLO4: มีทัศนะคติเชิงบวกพร้อมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม และทำงานในสังคมที่หลากหลาย
  • PLO5: ใช้สถิติและการวิเคราะห์เชิงข้อมูล และสามารถสื่อสารและเผยแพร่ผลการศึกษาสู่กลุ่มเป้าหมายในระดับนานาชาติ

  • แบบที่ 1.1 จำนวน  6  ภาคการศึกษาในหลักสูตร
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   192,000   บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา  32,000  บาท
  • แบบที่ 1.2 จำนวน  10  ภาคการศึกษาในหลักสูตร
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   288,000   บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา  28,800  บาท

แบบ 1.1 (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท) 48 หน่วยกิต  
  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต (หลักสูตร 3 ปี)
    1. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
       
แบบ 1.2 (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี) 72 หน่วยกิต  
  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต (หลักสูตร 5 ปี)
    1. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 72 หน่วยกิต
       

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณ พ.ศ. 2564

ปรัปปรุงข้อมูลล่าสุด 12 ก.ค. 64