หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพชายแดน
ปริญญาโท สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ภาษาไทย: | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพชายแดน |
ภาษาอังกฤษ: | Master of Public Health Program in Border Health Management |
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสุขภาพชายแดน) |
ชื่อย่อ : | ส.ม. (การจัดการสุขภาพชายแดน) | |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Master of Public Health (Border Health Management) |
ชื่อย่อ : | M.P.H. (Border Health Management) |
ปรัชญาของหลักสูตร
ทฤษฎีสร้างความเรียนรู้ของผู้เรียน(Constructivism)เป็นปรัชญาของหลักสูตรที่ทำให้นักศึกษาระดับปริญญาโท สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งหวังให้ มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความคิดเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมด้านการสาธารณสุขเพื่อในฐานะผู้นำด้านสาธารณสุขในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทั้งหมดของประเทศไทย ภายใต้การศึกษาจะได้รับการพัฒนาศักยภาพในทักษะการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ และประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และนานาชาติเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรได้
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตสาขาสาธารณสุขศาสตร์ที่เป็นนักวิชาการ/วิชาชีพ มีความสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความรู้และทักษะในการจัดการระบบสุขภาพชุมชนตามมาตรฐานสากล และทำงานเป็นทีมร่วมกับชุมชนและสหวิชาชีพในระดับชาติและนานาชาติ กล้าแสดงออกทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้องและจรรยาบรรณวิชาชีพ สร้างสรรค์งานวิจัยหรือริเริ่มพัฒนานวัตกรรมด้านการสาธารณสุข หรือใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนางานสาธารณสุขที่ซับซ้อนได้อย่างเป็นระบบ ในกลุ่มประชากรเฉพาะที่ครอบคลุมกลุ่มชนชาติพันธุ์ แรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัย กลุ่มเปราะบาง ประชากรชายแดนและชายขอบ
มหาบัณฑิตสาขาสาธารณสุขศาสตร์ สามารถเป็นผู้ประกอบอาชีพในตำแหน่งต่างๆ ดังนี้
- นักพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนแบบยั่งยืนในระดับชาติและนานาชาติ
- นักจัดการสุขภาพข้ามแดนและข้ามวัฒนธรรมในบริบทที่ซับซ้อน
- นักจัดการสุขภาพทั้งในองค์กรภาครัฐ และเอกชน
- นักวิชาการสาธารณสุข/นักวิเคราะห์นโยบายและแผนด้านสาธารณสุข ทั้งในองค์กรภาครัฐ และเอกชน
- นักวิจัยทางด้านสาธารณสุข หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ หรือสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- PLO1: มีความซื่อสัตย์ สามารถตัดสินใจโดยใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
- PLO2: สามารถอภิปรายเชื่อมโยงทฤษฎี แนวคิด หลักการ และแนวปฏิบัติของศาสตร์ทางการสาธารณสุขและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการจัดการระบบสุขภาพชุมชนได้
- PLO3: มีทักษะในการคิดเชิงระบบที่ซับซ้อน และบูรณาการศาสตร์ด้านสาธารณสุขและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืน
- PLO4: สามารถสร้างสรรค์งานวิจัย หรือริเริ่มพัฒนานวัตกรรมด้านการสาธารณสุข หรือใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนางานสาธารณสุขที่ซับซ้อนได้อย่างเป็นระบบ
- PLO5: มีทักษะการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการจัดการสุขภาพตามมาตรฐานสากล ในกลุ่มประชากรเฉพาะที่ครอบคลุมกลุ่มชนชาติพันธุ์ แรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัย กลุ่มเปราะบาง ประชากรชายแดนและชายขอบ
- PLO6: มีทักษะการทำงานเป็นทีมร่วมกับหน่วยงานด้านสุขภาพในรูปแบบสหวิชาชีพในองค์กรข้ามชาติ สามารถเลือกใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีคุณภาพและทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อวิเคราะห์ วางแผน และสื่อสารในการจัดการสุขภาพชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- PLO7: สามารถออกแบบ ดำเนินการ และประเมินผล ของแผนงาน/โครงการ/ระบบสุขภาพ/ระบบประกันสุขภาพเพื่อการจัดการสุขภาพ/ระบบสุขภาพชุมชน/ชายแดนที่ซับซ้อนได้
จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 160,000.- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 40,000.- บาท
แผน ก1 | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
1. หมวดวิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิต | ||
แผน ก2 | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
2. หมวดวิชาบังคับ | 21 หน่วยกิต | ||
3. หมวดวิชาเลือก | 3 หน่วยกิต | ||
4. หมวดวิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | ||
แผน ข | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
1. หมวดวิชาบังคับ | 27 หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาเลือก | 3 หน่วยกิต | ||
3. หมวดการค้นคว้าอิสระ | 6 หน่วยกิต | ||