หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว
ปริญญาโท สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว |
ภาษาอังกฤษ: | Master of Science Program in Postharvest Technology and Innovation |
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว) |
ชื่อย่อ : | วท.ม. (เทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว) | |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Master of Science (Postharvest Technology and Innovatiojn) |
ชื่อย่อ : | M.Sc. (Postharvest Technology and Innovatiojn) |
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยวมุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการสูญเสีย ยกระดับคุณภาพและความปลอดภัย เพิ่มมูลค่าของผลิตผลเกษตร อันจะนำไปสู่การพัฒนาด้านเกษตรอย่างยั่งยืน เพิ่มความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงมีศักยภาพในการแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติ โดยมุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ คือ เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว ให้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความสามารถในการวิจัย และมีศักยภาพในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและสร้างสรรค์นวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานและองค์กรทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศทางด้านธุรกิจสินค้าเกษตรให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ
บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพ ทั้งในภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกษตรและอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสามารถเป็นนักวิชาการ นักวิจัย หรือเป็นอาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยวได้
- PLO1: มีความรู้รอบและรู้ลึกในศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
- PLO2: เป็นผู้มีความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวได้
- PLO3: มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- PLO4: มีความสามารถในการทำงานวิจัยและเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ
- PLO5: มีความสามารถในการประกอบกิจการส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
- แผน ก1
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 140,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000 บาท
- แผน ก2 แผน ข
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 180,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 45,000 บาท
แผน ก1 | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
1. หมวดวิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิต | ||
แผน ก2 | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
1. หมวดวิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาบังคับ | 14 หน่วยกิต | ||
3. หมวดวิชาเลือก | 10 หน่วยกิต |
แผน ข | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
1. หมวดวิชาบังคับ | 17 หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาเลือก | 13 หน่วยกิต | ||
3. การค้นกว้าอิสระ | 6 หน่วยกิต |