หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ปริญญาโท สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
ภาษาไทย: | หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ |
ภาษาอังกฤษ: | Master of Science Program in Biological Science |
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) |
ชื่อย่อ : | วท.ม. (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) | |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Master of Science (Biological Science) |
ชื่อย่อ : | M.Sc. (Biological Science) |
ปรัชญาของหลักสูตร
วิทยาศาสตร์ชีวภาพเป็นศาสตร์แห่งชีวิต ที่มีขอบเขตอันกว้างใหญ่และมีความความหลากหลาย ดังนั้นความเข้าใจระดับของสิ่งมีชีวิตที่รวมตั้งแต่ระดับเซลล์จนกระทั่งระบบนิเวศ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการศึกษาและพัฒนาทั้งความรู้พื้นฐานและประยุกต์ ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการดำรงชีวิตและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้เชิงลึก สามารถนำไปต่อยอดทั้งงานวิจัยหรือเป็นแนวทางในการสร้างธุรกิจบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เพื่อตอบโจทย์สำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์และการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน
หลักสูตรนี้จึงนำทฤษฎีการสร้างความรู้ของผู้เรียน ได้แก่ ทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism Theory) มาเป็นรากฐานสำคัญในการออกแบบ พัฒนา และจัดการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยเน้นการบูรณาการองค์ความรู้ทางชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงการพัฒนาผู้เรียนให้มีกระบวนการคิดและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่ออธิบายปรากฎการณ์ สรรสร้าง ตลอดจนการนำไปสู่การต่อยอดงานวิจัยและ/หรือสร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ในเชิงวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ องค์ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรชีวภาพ มีความคิดริเริ่มและสามารถแสวงหาความรู้เพื่อทำงานวิจัยอันก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และมีแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการและมีความเข้าใจในกระบวนการที่จะนำผลงานวิจัยมาประยุกต์สร้างเป็นนวัตกรรมต่อยอดและสร้างประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพได้อย่างคุ้มค่า เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรม ที่ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรม
- นักวิจัย พนักงานวิทยาศาสตร์ หรือผู้ช่วยวิจัย ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน เช่น มหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจทางด้านการเกษตร อาหารและยา
- อาจารย์ในสถาบันการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง
- ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ หรือ เครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Product specialist)
- ผู้ประกอบการอิสระ
- Startup ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
- ที่ปรึกษาบริษัท
- PLO1 ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมวิจัยพื้นฐานและจริยธรรมวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
- PLO2 เชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เทคโนโลยี ชีวภาพ และกฎหมายชีวภาพเพื่อพัฒนานวัตกรรมหรืองานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
- PLO3 บูรณาการความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และมีทักษะในการแก้ปัญหาวิจัยแบบสหวิทยาการ
- PLO4 ทำงานร่วมกับสหวิชาชีพในรูปแบบพหุวัฒนธรรม/ทีมในการทำงานพร้อมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
- PLO5 เลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในการวางแผนและวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวภาพ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูล สามารถสื่อสารทางวิชาการในระดับชาติ หรือนานาชาติ
- PLO6 สร้างสรรค์พัฒนาผลงานทางวิชาการ ผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงกระบวนการทางชีวภาพ หรือนวัตกรรมทางชีวภาพ
จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 140,000.- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000.- บาท
แผน ก แบบ ก1 | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
1. หมวดวิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิต | ||
แผน ก แบบ ก2 | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
1. หมวดวิชาบังคับ | 12 หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาเลือก | 12 หน่วยกิต | ||
3. หมวดวิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | ||