หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ

ปริญญาโท สำนักวิชานวัตกรรมสังคม

ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ
ภาษาอังกฤษ: Master of Arts Program in International Development

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาระหว่างประเทศ)
ชื่อย่อ : ศศ.ม. (การพัฒนาระหว่างประเทศ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Arts Program (International Development)
ชื่อย่อ : M.A. (International Development)

     หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งตอบสนอง ความต้องการ ในการสร้างมหาบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในหลักวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศในมิติต่างๆ ทั้งการวางแผน การบริหารทรัพยากร การพัฒนาโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทัศนคติและคุณธรรม จริยธรรมของนักพัฒนาในท้องถิ่นของประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่เป็นผลจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การพัฒนากระแสหลักของโลก แนวนโยบายของรัฐและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ทางเลือกเชิงนโยบายและการตัดสินใจอย่างเหมาะสม โดยมุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

  1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในมิติด้านการพัฒนา การจัดการทรัพยากร การจัดการความขัดแย้งและปฏิบัติการของการสนับสนุนนโยบายและการระดมทุนระหว่างประเทศ ทั้งในทางทฤษฎีและการปฏิบัติรวมทั้งมีทัศนคติ ในเรื่องการเป็นประชากรของภูมิภาค
  2. เพื่อสร้างนักวิจัยที่มีจรรยาบรรณและสร้างผลงานวิจัยที่เอื้อผลประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

  1. หลักสูตรภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
  2. มีให้เลือกเรียน 2 แผนการศึกษา คือ (1)แผน ก2   และ(2)หลักสูตร 2 ปริญญา (Double Degree Programme) โดยเป็นหลักสูตรระหว่างหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  กับ The Master of Philosophy or the Master of International Cooperation Studies in the International Peace and Co-existence Program, The Graduate School of Humanities and Social Sciences, Hiroshima University ประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งนักศึกษาจะได้รับปริญญามหาบัณฑิตจากทั้ง 2 มหาวิทยาลัย 
  3. แนวคิดหลักของหลักสูตร คือ การพัฒนาระหว่างประเทศเพื่อความมั่นคงของมุนษย์และความร่วมมือระดับสากล
  4. หลักสูตรที่ทันสมัย ในยุคศตวรรษที่ 21 เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศ และการพัฒนา ด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในยุคโลกาภิวัตน์ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล
  5. สหวิทยาการทางสังคมศาสตร์: ความรู้ที่ครอบคลุมและเข้มข้นผ่านสาขาวิชาต่างๆ ในการพัฒนาระหว่างประเทศโดยอาศัยบุคลากรทางวิชาการที่มีทักษะ (การพัฒนาระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรัฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ การศึกษาสันติภาพและความขัดแย้งการศึกษาเพศสภาวะ ประวัติศาสตร์ และอื่น ๆ )
  6. แนวทางการเรียนรู้เชิงบูรณาการ
    • การบรรยาย: การอภิปรายทางทฤษฎี กรณีศึกษาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ระเบียบวิธีวิจัย
    • ภาคสนาม: การวิจัยในเชิงพื้นที่ เกี่ยวกับการจัดการและพัฒนาโครงการ
    • สัมมนา: สัมมนา การบรรยายสู่สาธารณะ การนำเสนอด้วยรายงานรูปเล่ม การประชุมนานาชาติ
  7. เครือข่ายและองค์การทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติเพื่อการประชุมและการวิจัยด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ

     มหาบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ สามารถทำงานได้ทั้งในภาครัฐ เอกชน และประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานระหว่างประเทศ โดยผู้จบการศึกษาสามารถทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การระหว่างประเทศ ธุรกิจระหว่างประเทศ องค์กรเอกชนระหว่างประเทศ หรือ หน่วยงานของรัฐบาลที่มีความสัมพันธ์กับหน่วยงานในต่างประเทศด้านการพัฒนา เป็นต้น

  • PLO1: สอดแทรกหลักคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหาการเรียนการสอน
  • PLO2: มีการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาระหว่างประเทศ
  • PLO3: ส่งเสริมนักศึกษาให้รู้จักการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยมีการมอบหมายงานที่เอื้อต่อการฝึกฝนและสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
  • PLO4: จัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมซึ่งทำให้เกิดทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาสามารถแสดงภาวะผู้นำและความเป็นสมาชิกของกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
  • PLO5: จัดการเรียนการสอนที่มีรายวิชาซึ่งส่งเสริมทักษะการประยุกต์ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ ภาษา เทคโนโลยี การสื่อสาร สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางด้านการงานและชีวิตประจำวัน    

  • สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ แผน ก1 และ ก2 จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 320,000.- บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 80,000.- บาท 

แผน ก1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
       
แผน ก2  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต
    3. หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ พ.ศ. 2560

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 9 ก.ค. 64